วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอรืเน็ต

ความเป็นมาของระบบเครือข่าย

ในโลกปัจจุบัน พัฒนาการสุดยอดแห่งยุค สารสนเทศ แทบไม่มีใครไม่รู้จัก สิ่งที่ทำให้โลก ไร้พรมแดน เส้นแบ่งเขตประเทศ หรือโซนเวลา คอมพิวเตอร์ ทุกคน ทุกบ้านเรือน เป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาเน็ทเวิร์ค ยามเมื่อต่อเข้าบริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็เปรียบเสมือน เพื่อนข้างโต๊ะทำงาน ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ  ชั่วพริบตา  ทั้งส่งจดหมาย พูดคุย  ฟังเสียง  ดูภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เรื่องราวที่เกี่ยวพัน กับอภิมหาเน็ทเวิร์คระดับโลก หรืออินเทอร์เน็ต มีแง่มุมที่น่าสนใจ มากมายหลายด้าน และพัฒนาสิ่งใหม่เป็นรายวัน เพื่อให้เครือข่ายยักษ์นี้ ยืนอายุยาวนานตลอดกาล ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น แทบไร้การรอคอย ข้อมูลส่งได้มหาศาลขึ้น และจะเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของ ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน คล้ายกับ ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ เราจะทยอย คัดมานำเสนอเพิ่มขึ้น ทุกๆ เดือน เชิญติดตามอ่านได้เป็นประจำ ที่นี่
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งก็คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก มีคอมพิวเตอร์นับสิบล้านเครื่อง ต่อโยงถึงกัน เสมือนใยแมงมุม โดยใช้ โปรโตคอล (Protocol) หรือ มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง ที่มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเลือก เส้นทางในการติดต่อ ได้หลายๆ เส้นทาง หรือจะเรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารแบบไร้มิติ ไซเบอร์เสปซ (CyberSpace)

IP Address And DNS

IP Address
Domain
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ตต้องมีแอดเดรส (address) ซึ่งเหมือนกับบ้านต้องมีเลขที่บ้านเพื่อที่จะบอกได้ว่าเป็นบ้านไหน แอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้จะได้แยกออกว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องไหน แอดเดรสที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตคือ IP address

IP Address  รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP address แต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง

161.200.48.9
แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)  หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้ IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก  ยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง 161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอ IP address จาก ChulaNet  การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา

Domain Name System  Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่าง โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ


ตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด

com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล
edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา
org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือ provider ต่าง ๆ
ถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น

th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 5 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้

th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย
co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)
www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 7 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้

com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ
www.ch7 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.ch7
การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้

เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection) วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่

สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Router ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือเน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กของหน่วยงานนั้นก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา สำหรับจุฬาลงกรณ์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานที่ใช้วิธีเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่มีข้อแตกต่างอยู่ประการหนึ่งคือจุฬา ฯมีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ตเอง ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงไม่ต้องผ่าน ISP  จุฬา ฯมีเน็ตเวิร์กของตนเองชื่อ ChulaNet มี Gateway ของตนเอง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์กของจุฬาฯสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็เพียงแต่ผู้ใช้หรือนิสิตมาที่จุฬา ฯและเข้าใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ แล้วก็สามารถติดต่อใช้อินเตอร์ได้

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการเชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อินเตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ISP มีสมาชิกมากน้อยเท่าไร สิ่งที่ท่านที่เป็นผู้ใช้ต้องมีได้แก่

คอมพิวเตอร์ (ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องพีซี)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณโทรศัพท์ และทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์กลับมาเป็นสัญญาณโทรศัพท์
เครื่องโทรศัพท์
เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตให้ท่านใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์ไปยังเบอร์โทรศัพท์ของ ISP เมื่อหมุนติดแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านจะมีสถานะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งของเน็ตเวิร์กของ ISP โดยที่เน็ตเวิร์กของ ISP นั้นไปต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง (คือใช้วิธีเชื่อมต่อวิธีแรก) ดังนั้นเมื่อหมุนติดท่านก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับวิธีนี้คือ ค่าสมาชิกที่จ่ายให้แก่ ISP และค่าโทรศัพท์ที่ใช้การติดต่อกับ ISP เมื่อพิจารณาดูแล้วเป็นค่าใชัจ่ายที่หน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปพอจ่ายไว้ ในกรณีของของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นถ้านิสิตเป็นสมาชิกของเน็ตเวิร์กของจุฬา (ChulaNet) เมื่อนิสิตอยู่ที่บ้านและต้องการใช้อินเตอร์เน็ต นิสิตสามารถใช้วิธีนี้ได้ คือ นิสิตก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์มายังเบอร์โทรศัพท์ของ ChulaNet เมื่อหมุนติดก็สามารถใช้อินเตอร์ได้  รูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ตของการติดต่อวิธีนี้สามารถใช้งานได้ทั้งแบบกราฟิก(Graphic) ได้ และแบบ text (ข้อความ) แล้วแต่จะเลือกใช้งานแบบไหน

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation ารเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สองคือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งานมีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกจะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)


http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2368

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น