วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต 

WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th

URL(Uniform Resouire Locator)  หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)   คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net

IP Address คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com


Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน

6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต


      อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address

การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น

การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น


การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 ประโยชน์ที่ได้รับจากอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต มีบริการต่าง ๆ หลายรูปแบบพอแยกประเภทออก ได้ดังนี้
1. บริการข้อมูลมัลติมิเดีย (WWW)
บริการนี้โดยส่วนใหญ่เราเรียกกันว่าบริการ Web Server หรือบางทีเราก็เรียกว่า WWW ผู้ที่จัดทำ Web Server ก็คือ ผู้ที่ดูและระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับ WebServer นั้นหลายท่านอาจจะยังสงสัยอยู่ว่าหมายถึงอะไร Web Server ก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เราเรียกกันว่า Web Page หรือ WWW ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้ ทั้งดูรูปภาพ อ่านตัวหนังสือ ฟังเสียงต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้ ซึ่งการที่ Web Page สามารถให้บริการอย่างนี้ได้ เราจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "บริการข้อมูลแบบ มัลติมีเดีย"
2. ระบบเครือข่ายยูสเน็ต (USENET)
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบบีบีเอส (BBS:Bulletin Board System) เป็นการสื่อสารในเรื่องข่าวสารเป็นหลักโดยมีชื่อเรียกว่า"กลุ่มข่าวสาร" (News Groups) ในแต่ละวันมีการส่งข่าว สารในเครือข่ายยูสเน็ตจำนวนนับหมื่นเรื่อง โดยมีแหล่งส่งข่าวสารซึ่งเรียกว่า "ยูสเน็ตเซิร์ฟเวอร์" ในเครือยูสเน็ตประมาณ 30,000 แห่งทั่วโลก
3. ระบบอาร์ซี (Archie)
เป็นระบบบรรณารักษ์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเข้าสู่แหล่งข้อมูลเพื่อสืบค้นข้อมูลในระบบ Archie ทำได้โดยล็อกไปยังแหล่งข้อมูล Archie ซึ่งเรียกว่า "อาร์ซีเซิร์ฟเวอร์" (Archie Server) การสืบค้นข้อมูลระบบ Archie ได้รับการประดิษฐ์โดยมหาวิทยาลัยแมคกิล (McGill University) ประเทศแคนนาดา ดังนั้น Archie Server ชื่อarchie.mcgill.ca ของมหาวิทยาลัยแมคกิลจึงเป็น Archie Server แห่งแรกของโลกการเข้าสู่แหล่ง ข้อมูลบรรณารักษ์ระบบ Archie โดยการล็อกอินด้วยโปรแกรมระบบเทลเน็ต (Telnet) การล็อกอินเข้าสู่ Archie Server จะแสดงพรอมต์เป็น Archie
4. ระบบฐานข้อมูลโกเฟอร์ (Gopher)
โปรแกรมฐานข้อมูลซึ่งเป็นข่าวสารที่หลากหลาย โดยเริ่มจากข้อมูลขาวสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์โดยที่รูปแบบของข้อมูลจัดไว้เป็นเมนูโดยกำหนด เป็นหัวข้อเรื่อง ซึ่งหัวเรื่องในเมนูหลักประกอบด้วย หัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ในตัว และหัวข้อเรื่องที่กว้าง ซึ่งประกอบด้วยเมนูย่อย สำหรับหัวข้อเรื่องในเมนูหลักหรือเมนูย่อยอาจ เป็นการเรียกข้อมูลโดยการเชื่อมโยงไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ
5. ระบบสืบค้นเวส์ (WAIS)
เวส์ (WAIS) เป็นชื่อย่อยของคำว่า Wide Area Information Server เป็นระบบสืบค้นข้อมูลบนฐาน ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบสืบค้น WAIS ได้รับการสร้างและพัฒนาโดยบริษัท Apple, บริษัท KPMG Peat Marwick, ตลาดหลักทรัพย์ดาวน์โจนส์ (Down Jones) และบริษัท Thinking Machines ปัจจุบันระบบสืบค้น WIAS ดำเนินการโดยบริษัทเวส์ (WAIS Inc.) เป็นระบบสืบค้นเนื้อหามาตรฐานข้อมูลและของแหล่งข้อมูลที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระบุการเข้าสู่ระบบสืบค้นนี้ทำให้สองทางคือ การสืบค้นผ่าน ระบบ Gopher และการสืบค้นผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นฐานข้อมูลที่ให้ บริการฟรีมีจำนวนเกือบ 500 ฐาน ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล WAIS โดยโปรแกรม Netscape ทำให้การเชื่อมโยงกับเวิลด์ไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์ บริษัท WAIS Inc. โดยการใช้รหัสสืบค้นข้อมูลยูอาร์แอลเป็น http://www.wais.com
6. การสื่อสารและการส่งข้อมูล E-mail
อิเล็กทรอนิกส์เมล์หรืออีเมล์ (E-mail) อาจจะเป็นส่งที่มีการใช้งานกันมากที่สุดของอินเทอร์เน็ตหรืออยู่กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตรวมทั้งบริการออนไลน์ทั้งหลาย เช่น Online America เป็นต้น ผู้คนนับล้าน ๆ ส่ง - รับอีเมล์กันทุก ๆ วัน อีเมล์นับเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการติดต่อญาติมิตร เพื่อนฝูงที่อยู่ห่างไกลกัน และเพื่อนร่วมงานที่อยู่สำนักงานต่างสาขา และเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน การส่ง E-mail คุณเก็บโปรแกรมหรือเอ็กซีคิวเทเบิลไฟล์ (execute file) ไปกับอีเมล์ของคุณ ซึ่งในขั้นแรก ไฟล์นั้นจะต้องมีการเข้ารหัสเสียก่อนซึ่งวิธีเข้ารหัสที่นิยมกันก็คือ MIME (Multipurpose Internet Mail Extension) และ Uuencode ส่วนผู้รับไฟล์แบบไบนารีที่แนบไป (ซึ่งในอีเมล์จะเรียกว่า Attachment) ก็จะต้องถอด รหัสไฟล์นั้นออก ด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่ใช้เข้ารหัส ซึ่งซอฟท์แวร์สำหรับส่งอีเมล์หลาย ๆ ตัวจะจัดการเรื่องนี้ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
7. บริการ FTP
การใช้อินเทอร์เน็ตที่นิยมกันมากอย่างหนึ่งคือ การดาวน์โหลด (Down Load) หรือการโอนย้ายไฟล์จากคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ตมายังคอมพิวเตอร์ของคุณ ไฟล์เหล่านี้มีอยู่หลายประเภท เช่น ไฟล์โปรแกรม ที่สามารถรันบนคอมพิวเตอร์ของคุณได้ ไฟล์กราฟิกที่เรียกดูได้ ไฟล์เสียงและดนตรีซึ่งสามารถฟังได้ หรือไฟล์ตัวอักษรธรรมดา การดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตมักจะทำโดยใช้ File Transfer Protocol หรือ FTP นั่นเองยังสามารถใช้การอัพโหลด (Up Load) ไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกลับขึ้นไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
8. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat, IRC: Internet Relay Chat)
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบโต้กันซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้ รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง
9. E - Commerce (Electronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - ขาย และบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบันมีบริษัทนับหมื่นบริษัทใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกิจ และให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2540 การค้าขายบนอินเทอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 1 ล้านล้านบาทในอีก 5 ปี ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก

http://school.obec.go.th/khunrun/CAI/International%20Network/p9.html

4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร



อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร
        เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น  

        สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก  

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud

เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC

สายโทรศัพท์ทองแดง

โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป 

นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย 

หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) 

ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25 

นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง 

ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP 

เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ" 

หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535 

ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) 

ปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 

AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร 

ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน


 http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/internet/01.html
2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอรืเน็ต

ความเป็นมาของระบบเครือข่าย

ในโลกปัจจุบัน พัฒนาการสุดยอดแห่งยุค สารสนเทศ แทบไม่มีใครไม่รู้จัก สิ่งที่ทำให้โลก ไร้พรมแดน เส้นแบ่งเขตประเทศ หรือโซนเวลา คอมพิวเตอร์ ทุกคน ทุกบ้านเรือน เป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาเน็ทเวิร์ค ยามเมื่อต่อเข้าบริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็เปรียบเสมือน เพื่อนข้างโต๊ะทำงาน ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ  ชั่วพริบตา  ทั้งส่งจดหมาย พูดคุย  ฟังเสียง  ดูภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เรื่องราวที่เกี่ยวพัน กับอภิมหาเน็ทเวิร์คระดับโลก หรืออินเทอร์เน็ต มีแง่มุมที่น่าสนใจ มากมายหลายด้าน และพัฒนาสิ่งใหม่เป็นรายวัน เพื่อให้เครือข่ายยักษ์นี้ ยืนอายุยาวนานตลอดกาล ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น แทบไร้การรอคอย ข้อมูลส่งได้มหาศาลขึ้น และจะเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของ ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน คล้ายกับ ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ เราจะทยอย คัดมานำเสนอเพิ่มขึ้น ทุกๆ เดือน เชิญติดตามอ่านได้เป็นประจำ ที่นี่
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งก็คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก มีคอมพิวเตอร์นับสิบล้านเครื่อง ต่อโยงถึงกัน เสมือนใยแมงมุม โดยใช้ โปรโตคอล (Protocol) หรือ มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง ที่มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเลือก เส้นทางในการติดต่อ ได้หลายๆ เส้นทาง หรือจะเรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารแบบไร้มิติ ไซเบอร์เสปซ (CyberSpace)

IP Address And DNS

IP Address
Domain
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ตต้องมีแอดเดรส (address) ซึ่งเหมือนกับบ้านต้องมีเลขที่บ้านเพื่อที่จะบอกได้ว่าเป็นบ้านไหน แอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้จะได้แยกออกว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องไหน แอดเดรสที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตคือ IP address

IP Address  รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP address แต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง

161.200.48.9
แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)  หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้ IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก  ยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง 161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอ IP address จาก ChulaNet  การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา

Domain Name System  Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่าง โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ


ตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด

com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล
edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา
org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือ provider ต่าง ๆ
ถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น

th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 5 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้

th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย
co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)
www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 7 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้

com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ
www.ch7 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.ch7
การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้

เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection) วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่

สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Router ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือเน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กของหน่วยงานนั้นก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา สำหรับจุฬาลงกรณ์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานที่ใช้วิธีเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่มีข้อแตกต่างอยู่ประการหนึ่งคือจุฬา ฯมีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ตเอง ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงไม่ต้องผ่าน ISP  จุฬา ฯมีเน็ตเวิร์กของตนเองชื่อ ChulaNet มี Gateway ของตนเอง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์กของจุฬาฯสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็เพียงแต่ผู้ใช้หรือนิสิตมาที่จุฬา ฯและเข้าใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ แล้วก็สามารถติดต่อใช้อินเตอร์ได้

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการเชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อินเตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ISP มีสมาชิกมากน้อยเท่าไร สิ่งที่ท่านที่เป็นผู้ใช้ต้องมีได้แก่

คอมพิวเตอร์ (ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องพีซี)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณโทรศัพท์ และทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์กลับมาเป็นสัญญาณโทรศัพท์
เครื่องโทรศัพท์
เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตให้ท่านใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์ไปยังเบอร์โทรศัพท์ของ ISP เมื่อหมุนติดแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านจะมีสถานะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งของเน็ตเวิร์กของ ISP โดยที่เน็ตเวิร์กของ ISP นั้นไปต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง (คือใช้วิธีเชื่อมต่อวิธีแรก) ดังนั้นเมื่อหมุนติดท่านก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับวิธีนี้คือ ค่าสมาชิกที่จ่ายให้แก่ ISP และค่าโทรศัพท์ที่ใช้การติดต่อกับ ISP เมื่อพิจารณาดูแล้วเป็นค่าใชัจ่ายที่หน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปพอจ่ายไว้ ในกรณีของของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นถ้านิสิตเป็นสมาชิกของเน็ตเวิร์กของจุฬา (ChulaNet) เมื่อนิสิตอยู่ที่บ้านและต้องการใช้อินเตอร์เน็ต นิสิตสามารถใช้วิธีนี้ได้ คือ นิสิตก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์มายังเบอร์โทรศัพท์ของ ChulaNet เมื่อหมุนติดก็สามารถใช้อินเตอร์ได้  รูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ตของการติดต่อวิธีนี้สามารถใช้งานได้ทั้งแบบกราฟิก(Graphic) ได้ และแบบ text (ข้อความ) แล้วแต่จะเลือกใช้งานแบบไหน

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation ารเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สองคือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งานมีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกจะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)


http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2368

 1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
      ความหมายของระบบอินเตอร์เน็ต



อินเตอร์เน็ตคือกลุ่มเครือข่ายของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อความ ภาพ และเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

https://docs.google.com/document/d/1l5TYb3xBp-1NnXAd1nv2Gy124BMsjiyRfxWNAHEEGtQ/edit?hl=th